วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

CAI กับมือปืนDigital ในยุคต่อไปของ CAI สื่อการสอนจะต้องทันสมัยยิ่งขึ้น (ครูครับหมดเงินไปเยาะไหม)


ตอนนี้ใครๆก็คงคุ้นหูกับคำว่า CAI (Computer Assisted Instruction) 
และต่อไปสิ่งนี้จะไม่อยู่เพียงแค่หน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่นหมายถึงการใช้งานผ่านอุปกรณ์ Mobile เช่น Tablet เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ทำก็ต้องทันสมัยด้วยไม่ใช่ไปจบที่ Autoware ขอบเก่าแล้วครับพัฒนาต่อก็ลำบาก แล้วอะไรจะมีอนาตคกับสื่อแบบใหม่หละ Adobe Flash, Adobe Air, HTML5 <--- นี่คืออนาคต
CAI Tablet

แต่

ปัจจุบัญคนที่สามารถสร้างสรรค์งาน CAI สวยๆ ดีๆ นั้นมีน้องเพียงหยิบมือ ถึงสร้างออกมาก็ไม่สวย กระโหลกกะลา ดูไม่น่าสนใจ ก็เป็นผลให้งานตัวเองไม่ผ่านเพราะไปจ้างมือฝึกหัดที่ขาดความเป็น Artist มาทำ(เข้าใจว่าเด็กใหม่แต่มีฝีมือก็มีแต่ก็น้อยอีกเช่นกัน)
ขอพาดพิงถึงคุณครูหรือ น.ศ. หลายๆท่าที่ทำผลงานออกมาแต่ "มันไม่โดนอะ" << คำนี้น่าจะเหมาะสม และอีกหลายท่าที่ทำ อ.3 หรือ วิทยานิพนธ์ใน ป.ตรี/โท ที่ใช้ Upgrade วิทยฐานะของตน ทำแล้วงานไม่สามารถต่อยอดได้ "ผมเรียกว่า ทำออกมาแล้วมันตัน พัฒนาต่อไม่ได้ หรือพัฒนาต่อก็ลำบากไป" ผลงานชิ้นนั้นก็ต้องจบเพียงตรงนี้
ถ้า นักศึกษาหรือครู ที่ทำงานวิจัยซักชิ้น เผยแพร่งานของตัวเองมันก็เป็นเรื่องที่ดีทีเดียว โดยส่วนตัวก็รับงานทำสื่อการสอนอยู่  ziastudio.com เป็น Flash CAI แต่เราเน้นออกแบบและเพิ่มความน่าใช้ของตัวสื่อ และก็ได้เคยพูดคุยกับครูหลายท่าว่าบางคนใช้งบหมดไปเป็นแสน "คุณพระ" ปรับตำแหน่งขั้นหนึ่ง เพิ่มเงินเดือนอีกหน่อย มันก็ต้องทำ ส่วนมากได้ข่าวจากวงในว่าหมดกับการยื่นเงินให้เจ้าหน้าที่เพื่อให้งานประเมินได้ไวๆ (อันนี้ไม่รู้นะอาจเป็นข่าวลืมก็ได้ 555)
พอถึงตอนเผยแพร่ผลงานส่วนมากที่เห็นก็แจกพวก เอกสารปะหน้าตามเว็บ แต่ตัวผลงานถ้าไม่ใช้ที่เกี่ยวข้อกับ website ละก็ ถูกดองไว้กับรูปเล่นหนาๆ ในตู้กระจกแค่นั้น 
เสียดายเงินแสน
ถ้าเลือกได้อยากจะแนะนำให้ไปอัดงบในส่วนของเนื้องานจริงๆอีกหน่อย เคยเจอบางคนต่อราคาซะไม่เหลือค่าขนม เราเข้าใจว่ามีเหตุการแบบที่ว่ามา...เกิดขึ้นกับทุกวงการ แต่ลองปรับความคิดอีกนิด เช่นถ้าเจอมือปืนที่มีฝีมือแล้วงานออกมาดี ก็สมควรที่จะอัดฉีดมูลค่าเข้าไปอีกหน่อย เพราะอย่างไรเสีย งานสวยเริดกว่าเพื่อนบ้านยังไงๆก็ต้องผ่านอยู่แล้ว อาจลดจำนวนเงินที่ใช้กับใต้โต๊ะลง กระโดดเข้าหาคนตรวจอนุมัติทันที(อันนี้ผมคิดเองนะ)
มันอาจจะได้ผลให้ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม และเราก็เทค่าใช้จ่ายไปเพิ่มในส่วนเนื้องานจริงมากขึ้น จะส่งผลให้เราสามารถต่อรองกับมือปืนของเราเองได้ว่า จัดการแบบโหดเอ้ยผิดแล้ว!!    ฉันขอเพิ่มฟังชั่นนี้เข้าไปนะ..... อะไรก็ว่ากันไป ส่งผลให้งานของเราดีกว่าคนอื่นๆในระดับเดียวกับ
สุดท้ายยังไงๆคนที่ทำผลงานด้านสื่อ Digital ก็ยังต้องอาศัยมือปืนเช่นเคย เพราะเราต้องรวมจุดแข็งของทั้ง2 ฝ่ายไว้
ครู, น.ศ. ผู้ว่าจ้าง : ต้องการชิ้นงานดี แต่ฝีมือไม่ได้เรื่อง แต่รู้คอนเซ็ปต์งาน
มือปืน ผู้รับจ้าง : ต้องการเงินดี ฝีมือโปร พร้อมรับฟังคอนเซ็ปต์งาน
ส่วนคนที่กำลังคิดจะจ้างมือปืน แนะนำให้ขอดูผลงานก่อน ถ้าผลงานเข้าตาก็จัดเลย อย่ามัวแต่ต่อราคาเขาจนไม่เหลือค่าขนมถุง เพราะถ้ามีคนอื่นจ้างในราคาสูงกว่าเขาคนนั้นหรือฉันคนนี้ก็จะจากไป
ตัวผมเองเวลาประเมินราคาผมจะประเมินราคากลางและ+ค่าฝีมือลงไปนิดหน่อย แต่โดยรวมก็จะถูกว่าจ้างบริษัททำแน่นอน ซึ่ง 70% ของลูกค้าที่เจอจะต่อราคา และอีก 30% นี้จะเป็นลูกค้าชั้นดีที่ อาจเจ็บตัวมาก่อนอิอิ แล้วลูกค้า 2 กลุ่มต่างกันตรงไหน ก็ตรงที่กลุ่ม 30% จะไม่ได้ตัดอะไรจากงานเลย Full Function มีอะไรดีๆใหม่ๆ เกิดประโยชน์กับงานเข้าเราก็จะแนะนำก่อนเลยซึ่ง service ก็จะดีกว่ารายที่ต่อราคามากๆ
แต่ถ้าต่อราคาจนเรารับไม่ได้ และขอลดความสวยความเด่นของงานไปผมก็จะไม่รับงานนั้น เหตุผลเพราะงานที่ออกมาเป็นผลงาน Portfolio ของเราเองไว้อ้างอิงลูกค้าคนอื่น ถ้าประเมินแล้วงานออกมาไม่ดีมันส่งผลเสียกับ Profile ของเราโดยตรง
รูปทั้งหมดเป็นผลงานจริงของผมเองครับ
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านครับ
ziastudio.com 

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

สร้างปุ่มปิด-เปิดเสียง Adobe Captivate 6


วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ข้อควรระวังในการใช้ Adobe Captivate 6 ในการทำ HTML5


จริงอยู่ที่โปรแกรม Adobe Captivate 6 สามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนแล้วสามารถส่งออกไฟล์เป็น HTML5 ได้ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเป็น Mobile Application ได้อีก ซึ่งกล่าวได้ว่า สามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็น Mobile Application Computer Assisted Instruction (MACAI) คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถเปิดเป็นแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนได้นั่นเอง
ในบทความนี้คงไม่ได้กล่าวถึงการใช้โปรแกรม Adobe Captivate 6 แต่จะกล่าวถึงข้อควรระวังถ้าจะสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถเปิดเป็นแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยส่งออกไฟล์เป็น HTML5 นั้น คือมีวัตถุบางชนิดที่ไม่สามารถส่งออกเป็นไฟล์ HTML5 ได้ ถ้าอยากรู้ว่าวัตถุชนิดใดรองรับหรือไม่รองรับ HTML5 นั้น ให้ลองใส่วัตถุทั้งหมดลงไปในชิ้นงานดู แล้วไปที่เมนู Project > HTML5 Tracer โปรแกรมจะแสดงวัตถุที่ไม่สามารถส่งออกเป็น HTML5 ได้ขึ้นมาดังรูป
0001
ซึ่งถ้าเราได้ทำการแทรกวัตถุที่ไม่สามารถส่งออกไฟล์เป็น HTML5 เข้ามาในชิ้นงานของเรา ก็ให้ทำการส่งออกไฟล์เป็น SWF สำหรับเปิดในอุปกรณ์ที่รองรับ Adobe Flash Player แต่ถ้าต้องการนำไปเป็น Mobile Application จริงๆ ก็ต้องทำการนำวัตถุที่โปรแกรมแจ้งขึ้นมาออกไป
ดังนั้นก่อนจะสร้างชิ้นงานก็วางแผนก่อนสักนิดว่าจะเอาไปใช้กับอุปกรณ์อะไร แต่ถ้านำไปใช้กับสมาร์ทโฟนที่รองรับ Adobe Flash Player ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้ เนื่องจากสามารถส่งออกเป็นไฟล์ SWF แล้วคัดลองลงสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตก็สามารถเปิดได้ทันที
Tablet
ส่วนเรื่องการส่งออกไฟล์เป็น HTML5 แล้วห่อเป็น Mobile Apllication ด้วย PhoneGap ใช้วิธีอย่างง่ายโดยสามารถอ่านดูได้จากบทความที่แล้วเรื่อง PowerPoint สู่ HTML5 สู่ Mobile Application (อย่างง่าย) คลิก
เขียนโดย ProgramsDD | 25-01-2556